ไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แม้จะดูแลสุขภาพได้ดีแค่ไหน ก็ยังมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสได้จากการกินอาหารร่วมกัน การสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน และการมีเพศสัมพันธ์ ยังโชคดีที่ในปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสบางชนิดได้ และก็เหมือนกับทุกๆ โรคที่ว่า “การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา” ดังนั้นหากมีโอกาสได้ตรวจหาภูมิคุ้มกันแล้วพบว่ายังไม่มีภูมิ การรับวัคซีนก็จะช่วยให้มั่นใจและปลอดภัยจากไวรัสตับอักเสบนี้มากขึ้น
ไวรัสตับอักเสบ หมายถึง
ไวรัสตับอักเสบ หมายถึงการอักเสบของตับที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัส โรคไวรัสตับอักเสบ B หรือ C สองชนิดนี้เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดการผลกระทบต่อตับ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B หรือ C เป็นเวลานานกว่า 6 เดือนจะเรียกว่าเป็นโรค “เรื้อรัง” (เรื้อรังหมายถึงการเป็นโรคระยะยาว, ในที่นี้คือมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป) บางคนอาจไม่รู้สึกเจ็บป่วยและอาจรู้สึกปกติธรรมดาแต่อย่างไรก็ตามหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบหรือไม่ได้รับการรักษาอาจจะเป็นอันตรายต่อตับ เช่น
- เกิดอาการตับบวม
- เกิดแผลเป็นที่ตับ
- อาจพัฒนาไปสู่การเป็นมะเร็งในตับ (การมีเนื้องอกเจริญเติบโตในตับ)
ตับอักเสบ มี 2 ประเภท
- ภาวะเฉียบพลัน คือ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตามที่การอักเสบหายได้เองในระยะ 6 เดือน
- ภาวะเรื้อรัง คือ ตับอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม ที่ไม่หายเองภายใน 6 เดือน โดยการตรวจเลือดพบมีร่องรอยของการอักเสบ และมักไม่มีอาการบ่งบอกจนกว่าจะถึงระยะสุดท้ายของโรค หรือตับวาย
สาเหตุที่ทำใหตับอักเสบ
อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- ไวรัสตับอักเสบเอ และอี มักมีการติดต่อหรือแพร่เชื้อผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสซึ่งออกมาจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ
- ไวรัสตับอักเสบบี และซี สามารถติดต่อหลักทางเลือด เพศสัมพันธ์ การสักตามร่างกาย เจาะหูหรืออวัยวะต่างๆ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน อาจติดจากมารดาสู่ทารก
- ไวรัสตับอักเสบดี มีการติดต่อจากเลือดของผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง และเกิดขึ้นกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เท่านั้น เพราะไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้หากไม่มีไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย เป็นชนิดที่รุนแรงแต่พบได้น้อย
- การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อาจเป็นเหตุให้ตับเกิดความเสียหายหรืออักเสบได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์ตับ ทำให้เกิดตับแข็ง
- การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิด โดยการใช้ยาเกินปริมาณและเกินระยะเวลาที่กำหนด หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิดในปริมาณน้อยก็อาจสร้างความเสียหายต่อตับได้ เช่น ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟ่น ยารักษาวัณโรค รวมถึงยาฮอร์โมน วิตามินบำรุง หรือสมุนไพรต่างๆ
- ภาวะไขมันพอกตับ สัมพันธ์กับภาวะต่างๆ ได้แก่ โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ตรวจพบโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ การรับประทานอาหารพลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
- สาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อจากโรคไข้เลือดออก ไข้รากสาด ไข้ป่า การอุดกันทางเดินน้ำดี จากภูมิแพ้ตนเอง เป็นต้น
อาการและการตรวจวินิจฉัยของตับอักเสบ
สามารถพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ แต่ทราบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าตับผิดปกติ เมื่อมีการอักเสบมากขึ้น จะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ภาวะดีซ่าน หรือหากร้ายแรงจนถึงขั้นเรื้อรังจนเซลล์ตับถูกทำลายมากๆ อาจทำให้กลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด
มักพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าตับผิดปกติ โดยเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วย เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และอาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยตับอักเสบร่วมด้วย ได้แก่
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาค่าการทำงานของตับ ได้แก่ ค่า ALT, AST, ALP ที่ผิดปกติ หรือการตรวจหาเชื้อไวรัส
- การตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) เป็นการตรวจไขมันในตับและการตรวจพังผืดในตับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับรวมถึงระดับพังผืดและตับแข็งได้โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว ใช้เวลาไม่นาน
การรักษาตับอักเสบ
วิธีการรักษาจะแตกต่างกันตามสาเหตุ และความรุนแรงของตับอักเสบ ดังนี้
- จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- ไวรัสตับอักเสบเอ และอี เป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างเฉียบพลันและหายเองได้ในระยะสั้น แพทย์อาจแนะนำให้นอน พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ไวรัสตับอักเสบดี พบได้น้อยมาก ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัส
- ไวรัสตับอักเสบบี เมื่อพบว่าเป็นแบบเฉียบพลันส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง หากเป็นแบบเรื้อรังผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาอื่นๆ แพทย์ต้องประเมินการรักษาเป็นประจำ และรักษาอย่างต่อเนื่อง
- ไวรัสตับอักเสบซี ปัจจุบันมียาต้านเชื้อไวรัสชนิดรับประทานที่ได้ผลดี สามารถรักษาจนหายขาดได้
- จากการดื่มแอลกอฮอล์ ควรหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการรักษาด้วยยานั้นจะใช้ในกรณีบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาลดการอักเสบของตับ
- จากการใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิด รักษาได้ด้วยการหยุดใช้ยาหรือสารที่เป็นต้นเหตุ และรักษาตามอาการป่วยอื่นๆ ที่เกิดขึ้น
- จากภาวะไขมันพอกตับ หากพบว่าเป็นไขมันพอกตับ แพทย์จะพิจารณาให้ยารับประทานตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และหลีกเลี่ยงหรืองดความเสี่ยงๆ หรือปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ
การดูแลตัวเองของผู้ป่วยตับอักเสบ
- ควรรับประทานอาหารเหมาะสม เป็นอาหารที่ถูกสุขอนามัย สะอาดและครบทุกหมู่
- หลีกเลี่ยงยาและอาหารเสริมที่ไม่จำเป็น รวมถึงยาสมุนไพร ยาลูกกลอนและอาหารเสริมจำนวนมาก
- ผู้ป่วยตับแข็งควรรับประทานอาหารที่สุก สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์ทุกชนิด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอผู้ป่วยตับอักเสบควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมเหมาะกับวัย เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ
- ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา
- ควรตรวจเลือดทุก 3-6 เดือนและตรวจอัลตราซาวด์ทุก 6-12 เดือน
การป้องกันตับอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่
- การเจาะ สักผิวหนัง
- การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
- การใช้ของมีคมร่วมกับบุคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
- การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน
- บุคลากรทางการแพทย์ ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุมเมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทำงานหนัก และป้องกันความเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันทารกการติดเชื้อ
- การฉีดวัคซีน โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี จะมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ม (0,1,6 เดือน) สามารถสร้างภูมิต้านทานได้มากกว่าร้อยละ 95 ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต รวมทั้งวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอด้วยเช่นกัน
การแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบ B หรือ C
เชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ B แพร่กระจายอย่างไร
- จากแม่สู่ลูกในระหว่างการคลอดบุตร
- ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน
- โดยวิธีทางการแพทย์หรือทันตกรรมที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ
- โคยการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกัน
- โดยการรับเลือดที่ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดด้วยวิธีอื่นๆ รวมถึงการสักที่ไม่ได้รับการป้องกันฆ่าเชื้ออย่างถูกสุขลักษณะ
เชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ C แพร่กระจายอย่างไร
- จากแม่สู่ลูกในระหว่างการคลอดบุตร
- ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน โดยเฉพาะถ้ามีเลือดอยู่
- โดยวิธีทางการแพทย์หรือทันตกรรมที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ
- โดยการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกัน
- โดยการรับเลือดที่ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดด้วยวิธีอื่นๆ รวมถึงการสักที่ไม่ได้รับการป้องกันฆ่าเชื้ออย่างถูกสุขลักษณะ
เชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ B หรือ C ไม่สามารถแพร่กระจายได้โดย
- การแบ่งปันอาหารเครื่องดื่มหรือการใช้แก้วจานชามช้อน ส้อม หรือมีดร่วมกัน
- การสัมผัสกอดหรือจูบ
- การจับมือกัน
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เนื่องจากตับอักเสบ สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งที่แบบมีอาการและไม่มีอาการ ฉะนั้นการตรวจคัดกรองตับควรทำในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือบุคคลทั่วไปควรตรวจเช็กสุขภาพประจำปี ซึ่งจะช่วยให้เราทราบแต่เนิ่นๆ รวมทั้งหาสาเหตุต่างๆ เพื่อหาแนวทางการรักษา ป้องกันไวรัสตับอักเสบไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ ตามมาได้
เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- เครียดลงกระเพาะ โรคที่สามารถป้องกันการเกิดขึ้นได้
- โลหิตจาง มีอาการอย่างไร
- โรคอัลไซเมอร์ สาเหตุ อาการ การป้องกันและการดูแล
- โรคลำไส้แปรปรวน มีอาการและสาเหตุมาจากอะไร
ที่มาของบทความ
- https://www.paolohospital.com
- https://www.nakornthon.com
- https://www.cancervic.org.au
- https://www.samitivejhospitals.com
- https://www.amarinbabyandkids.com
ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ syoujyuen.com
สนับสนุนโดย ufabet369